วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เจลว่านหางจระเข้
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : เจลว่านหางจระเข้
สารสำคัญ : วุ้นว่านหางจระเข้ 87.4 %
รูปแบบ : เจลทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก วันละ 2-3 ครั้ง
หรือตามแพทย์สั่ง
ขนาดบรรจุ : 30 กรัม/หลอด
เจลพริก
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : เจลพริก
สารสำคัญ : สารสกัดพริกที่มี สารแคปไซซิน 0.025 %
รูปแบบ : เจลทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาบางๆ บริเวณที่ปวดวันละ 2-3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 30 กรัม/หลอด
ไพลจีซาล
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : ครีมไพลจีซาล
สารสำคัญ : น้ำมันไพล 140 มก./กรัม
รูปแบบ : ครีมทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาและนวดเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 30 กรัม/หลอด
เซนเทลล่าครีม
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : เซนเทลล่าครีม
สารสำคัญ : สารสกัดใบบัวบก 7 %
รูปแบบ : ครีมทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาบริเวณแผลเปิดที่มีการทำความสะอาด
และฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว วันละ 2-3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 20 กรัม/หลอด
การนวดฝ่าเท้า
นวดฝ่าเท้าอยู่หลายแห่ง
ถ้าคุณสนใจแต่ยังไม่กล้าลอง ก็ลองนวดดูเอง ด้วยวิธีง่ายๆ ต่อไปนี้
• เวลานวดให้ล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้น และเพื่อช่วยให้การนวดไม่ ติดขัด ในการทาโลชั่นให้กดน้ำหนักของนิ้วลงไปให้ทั่วบริเวณเท้าด้วย
• ใช้มือหนึ่งจับเท้าข้างที่ต้องการจะนวดไว้ให้แน่น
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งกดลงที่เนื้อของหัวแม่โป้ง
• ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่หัวแม้เท้า ขึ้น - ลง ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของนิ้วเท้า
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่ตาตุ่ม แล้วกดนวดเป็นวงกลม
• ใช้หัวแม่มือนวดตั้งแต่ตาตุ่มโค้งลงมาจนถึงส้นเท้าทั้งสองด้าน
• นวดบริเวณส้นเท้าค่อยๆ เลื่อนขึ้นมาถึงข้อเท้าไปในทิศทางเดียวคือ นวดขึ้นนวด
ขึ้น
• ปิดท้ายด้วยการนวดบริเวณข้อเท้าอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าคุณสนใจแต่ยังไม่กล้าลอง ก็ลองนวดดูเอง ด้วยวิธีง่ายๆ ต่อไปนี้
• เวลานวดให้ล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้น และเพื่อช่วยให้การนวดไม่ ติดขัด ในการทาโลชั่นให้กดน้ำหนักของนิ้วลงไปให้ทั่วบริเวณเท้าด้วย
• ใช้มือหนึ่งจับเท้าข้างที่ต้องการจะนวดไว้ให้แน่น
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งกดลงที่เนื้อของหัวแม่โป้ง
• ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่หัวแม้เท้า ขึ้น - ลง ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของนิ้วเท้า
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่ตาตุ่ม แล้วกดนวดเป็นวงกลม
• ใช้หัวแม่มือนวดตั้งแต่ตาตุ่มโค้งลงมาจนถึงส้นเท้าทั้งสองด้าน
• นวดบริเวณส้นเท้าค่อยๆ เลื่อนขึ้นมาถึงข้อเท้าไปในทิศทางเดียวคือ นวดขึ้นนวด
ขึ้น
• ปิดท้ายด้วยการนวดบริเวณข้อเท้าอีกครั้งหนึ่ง
การทำตะกร้าหวาย
ตะกร้าหวาย ถังใส่ผ้า ถังใส่ขยะ ทำจากหวาย
- ตะกร้าหวาย ถังใส่ผ้า ถังใส่ขยะ ทำจากหวาย
- กล่องกระดาษทิชชู จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด จักสานด้วยผักตบชวา
- ตะกร้า หูหิ้ว จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด/ตะกร้า จักสานด้วยกก
ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ของตกแต่งบ้าน ตกแต่ง รีสอร์ท สำนักงาน ที่พัก โรงแรม ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ปอ กก ผักตบชวา หวาย และรับทำตามแบบที่ท่านต้องการ มีสินค้าให้เลือกชมที่เว็บไซต์
- ตะกร้าหวาย ถังใส่ผ้า ถังใส่ขยะ ทำจากหวาย
- กล่องกระดาษทิชชู จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด จักสานด้วยผักตบชวา
- ตะกร้า หูหิ้ว จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด/ตะกร้า จักสานด้วยกก
ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ของตกแต่งบ้าน ตกแต่ง รีสอร์ท สำนักงาน ที่พัก โรงแรม ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ปอ กก ผักตบชวา หวาย และรับทำตามแบบที่ท่านต้องการ มีสินค้าให้เลือกชมที่เว็บไซต์
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550
แก้มลิง
โครงการ '' แก้มลิง '
ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ 5 แนวทาง คือ ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำ โดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง
วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ
1. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน
2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว
(One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง
โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
2. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
3. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
เขื่อนภูมิพล
เขื่อนภูมิพล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
เขื่อนภูมิพลเขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกในประเทศไทย ลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตรูปโค้ง เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 แล้วเสร็จทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 เขื่อนนี้เดิมชื่อ เขื่อนยันฮี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระปรมาภิไธยให้เป็นชื่อเขื่อนว่า เขื่อนภูมิพล เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2500
เขื่อนภูมิพลสร้างปิดกั้นลำน้ำปิง ที่บริเวณเขาแก้ว อำเภอสามเงา จังหวัดตาก มีรัศมีความโค้ง 250 เมตร สูง 154 เมตร ยาว 486 เมตร ความกว้างของสันเขื่อน 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุสูงสุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 8 ของโลก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2504 การก่อสร้างในระยะแรกประกอบด้วย งานก่อสร้างตัวเขื่อน ระบบส่งไฟฟ้า และอาคารโรงไฟฟ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2507
หน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นมาควบคุมการก่อสร้าง บำรุงรักษาและบริหารงานเขื่อนภูมิพล เมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นรัฐวิสาหกิจมีชื่อว่า "การไฟฟ้ายันฮี" ซึ่งต่อมาได้ควบรวมกับรัฐวิสาหกิจ "การลิกไนต์" และ "การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ" เป็น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เมื่อ พ.ศ. 2511 มีผู้ว่าการคนแรกคือนายเกษม จาติกวณิช
[แก้] กำลังการผลิตไฟฟ้า
เขื่อนภูมิพลได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 8 เครื่อง
เครื่องที่ 1 กำลังการผลิต 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507
ปรับปรุงเครื่องและเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 76,300 กิโลวัตต์ เมื่อ พ.ศ. 2531 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2535
เครื่องที่ 2 กำลังการผลิต 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2507
ปรับปรุงเครื่องและเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 76,300 กิโลวัตต์ เมื่อ พ.ศ. 2531 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2536
เครื่องที่ 3 กำลังการผลิต 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
ปรับปรุงเครื่องและเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 76,300 กิโลวัตต์ เมื่อ พ.ศ. 2536 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
เครื่องที่ 4 กำลังการผลิต 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2510
ปรับปรุงเครื่องและเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 76,300 กิโลวัตต์ เมื่อ พ.ศ. 2536 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540
เครื่องที่ 5 กำลังการผลิต 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2512
ปรับปรุงเครื่องและเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 76,300 กิโลวัตต์
เครื่องที่ 6 กำลังการผลิต 70,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2512
ปรับปรุงเครื่องและเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 76,300 กิโลวัตต์
เครื่องที่ 7 กำลังการผลิต 115,000 กิโลวัตต์ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2525
เครื่องที่ 8 กำลังการผลิต 171,000 กิโลวัตต์ เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบสูบกลับ สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2539
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนภูมิพล มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 743,800 กิโลวัตต์
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
รายละเอียดเขื่อนภูมิพล จากเว็บการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
อลังการ"เขื่อนภูมิพล"เขื่อนคอนกรีตโค้งหนึ่งเดียวในเมืองไทย
แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศพิกัดภูมิศาสตร์: 17.265° 98.9°
แผนที่ จาก กูเกิลแมปส์
ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
กังหันชัยพัฒนา
กังหันชัยพัฒนา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
กังหันชัยพัฒนากังหันชัยพัฒนา เป็น สิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันบำบัดน้ำเสีย“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน
ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร
เนื้อหา [ซ่อน]
1 ส่วนประกอบ
2 การทำงาน
3 จุดเริ่มต้นของกังหันน้ำชัยพัฒนา
4 สิทธิบัตรการประดิษฐ์
5 อ้างอิง
[แก้] ส่วนประกอบ
กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ)
ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน
มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง
[แก้] การทำงาน
ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น
การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน
[แก้] จุดเริ่มต้นของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่
วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบได้ครั้งแรกในปี 2532 แล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบ ในส่วนที่เป็นปัญหา ได้รับการแก้ไขมาโดยตลอด นับแต่มีการสร้างเครื่องต้นแบบ
ในด้านโครงสร้างนั้นได้พัฒนาให้กังหันน้ำหมุนด้วยความเร็ว 1,450 รอบต่อนาที โดยที่ซองตักน้ำหมุนด้วยความเร็ว 5 รอบต่อนาที ขับด้วยมอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า และมีการปรับปรุง โครงสร้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ออกแบบตัวเครื่องให้สามารถ ขับเคลื่อนด้วยคนเพื่อใช้ในแหล่งน้ำ ที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทออกซิเจนลงน้ำได้ 0.9 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง และมีการพัฒนาให้ถ่ายเทออกซิเจนได้ 1.2 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง
[แก้] สิทธิบัตรการประดิษฐ์
กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริ ในการพัฒนากังหันน้ำ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ “กังหันชัยพัฒนา” ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
“กังหันน้ำชัยพัฒนา” คือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถ และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โครงการหญ้าแฝก
โครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ (Top)
เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงครองราชย์ 60 ปี
ในปีพุทธศักราช 2549 และจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ ระหว่าง ปี 2548-2550 เพื่อการรณรงค์ส่งเสริมและขยายผลให้ประชาชนปลูกหญ้าแฝก
ในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และนำหญ้าแฝกไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม กว้างขวางและต่อเนื่อง โดยการรวมใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ
เข้าร่วมโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้การสนับสนุนของ 11 หน่วยงาน ที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เป็นประธานในพิธี
กรอบแห่งความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คือ ทั้ง 11 หน่วยงาน
ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ตกลงให้มีความร่วมมือกันปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ในปีพุทธศักราช 2549 เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 มีระยะเวลาดำเนินงานโครงการระหว่างปี 2548-2550 โดยเริ่มดำเนินการดีเดย์ตั้งแต่วันพืชมงคล คือวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยมี
เป้าหมายที่จะปลูกหญ้าแฝก จำนวนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านกล้า และจนเกิดผลสำเร็จในการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงและรักษาหน้าดินจำนวนไม่ต่ำกว่า 800,000 จุด ทั่วประเทศ โดย
กรมพัฒนาที่ดินสนับสนุนกล้าพันธุ์หญ้าแฝก และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกหญ้าแฝก
ในพื้นที่ลาดชันรอบแหล่งน้ำ บ่อน้ำ สองข้างทางลำเลียง และถนน รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีการบำรุงดูแลรักษาหญ้าแฝกที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามและปลูกซ่อมแซมให้ครบถ้วน ซึ่งบันทึกข้อตกลงได้มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลง คือ วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 จนถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2550
ลักษณะของหญ้าแฝก (Top)
หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่
ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่
1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ
แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน
ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก (Top)
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ
การขยายพันธุ์หญ้าแฝก (Top)
การขยายแม่พันธุ์ คือการนำแม่พันธุ์หญ้าแฝกที่มีลักษณะดีมาทำการขยาย
เพิ่มปริมาณทั้งการปลูกลงดิน ปลูกลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนการขยายพันธุ์กล้าหญ้าแฝก คือการนำหน่อที่ได้จากการขยายแม่พันธุ์มาเพาะชำ
เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่ ได้แก่ กล้าในถุงพลาสติกขนาดเล็ก และกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การขยายแม่พันธุ์หญ้าแฝก
1.1 การขยายพันธุ์ในแปลงขนาดใหญ่ การขยายพันธุ์หญ้าแฝกในแปลงขนาดใหญ่
เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการชลประทานและระบายน้ำดี สามารถปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่
โดยไม่ต้องยกร่องก็ได้ การเตรียมต้นพันธุ์โดยแยกหน่อจากกอนำมาตัดใบให้เหลือความยาว 20 เซนติเมตร และตัดรากให้สั้นแช่ในระดับน้ำสูง 5 เซนติเมตร เป็นระยะเวลา 5-7 วัน รากจะแตกออกมาใหม่นำไปปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างต้น 5 เซนติเมตร และระหว่างแถว 50 เซนติเมตร หลังจากปลูกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอเมื่ออายุได้ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 1 ช้อนชา เมื่อถึงอายุ 4-6 เดือน ให้ขุดนำไปเพาะชำในถุงพลาสติก หรือเตรียมเป็นกล้ารากเปลือยสำหรับใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
1.2 การขยายพันธุ์ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ การขยายพันธุ์โดยการปลูกในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ โดยวางเป็นแถวคู่ติดกันระยะห่างระหว่างแถวคู่ 1 เมตร ยาวตามพื้นที่ใช้วัสดุปลูกที่มีการระบายน้ำดี เช่น ดินร่วนทรายและขี้เถ้าแกลบ หรือขุยมะพร้าว
ในสัดส่วน 1:2:1 การติดตั้งระบบน้ำพ่นฝอย หรือมีตาข่ายพรางแสง นำหน่อมาปักชำดูแล
จนกระทั่งอายุ 4 เดือน จึงนำไปแยกหน่อเพาะชำต่อไป
2. การขยายกล้าหญ้าแฝกสำหรับใช้ปลูก
2.1 การเตรียมกล้าหญ้าแฝกในถุง โดยตัดรากให้สั้นและแยกหน่อจากกอตัดใบ
ให้ยาว 10 เซนติเมตร นำมาล้างน้ำ มัดรวมกันวางลงบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในระดับน้ำสูง 5 เซนติเมตร ในที่ร่มเงา 4 วัน แล้วจึงคัดหน่อที่ออกรากมาปักชำในถุงพลาสติกขนาดเล็ก (2X6 นิ้ว) และใส่วัสดุเพาะชำที่ระบายน้ำดีมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ดูแลรดน้ำ
ในสภาพเรือนเพาะชำ เมื่ออายุ 45-60 วัน ให้นำไปปลูกในพื้นที่ขณะที่ดินมีความชื้น
2.2 การเตรียมกล้าหญ้าแฝกแบบรากเปลือย โดยการแยกหน่อจากกอ ตัดใบ
ให้ยาว 20 เซนติเมตร ตัดรากให้สั้น วางบนขุยมะพร้าวที่ชื้น หรือแช่ในน้ำให้ท่วมราก
จนกระทั้งรากงอกขึ้นมายาว 1-2 เซนติเมตร นานประมาณ 5-7 วัน จึงนำไปปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และหลังจากปลูกดินควรมีความชื้นติดต่อกันอย่างน้อย 15 วัน
การเตรียมกล้าและดินเพื่อปลูกหญ้าแฝก (Top)
1. การกำจัดวัชพืชและเตรียมพื้นที่
2. การปลูกหญ้าแฝกในช่วงต้นฤดูฝน พื้นที่ปลูกต้องมีความชุ่มชื้น
3. การเตรียมแนวร่องปลูก โดยการวางแนวร่องปลูกขวางความลาดชัน ตามแนวระดับขนานไปตามสภาพพื้นที่
4. การใส่ปุ๋ยหมักรองก้นหลุมในแนวร่องปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน
5. การปลูกกล้าหญ้าแฝกในแปลงปลูก โดยการใช้กล้าเพาะชำถุงขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 10 เซนติเมตร หรือกล้ารากเปลือยใช้ระยะปลูก 5 เซนติเมตร
6. ความห่างของแถวหญ้าแฝกแต่ละแถว ขึ้นกับความลาดเทของพื้นที่ และชนิดของพืชที่ปลูก โดยขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ แต่โดยทั่วไปจะใช้ระยะห่างทางแนวดิ่ง1.5-3 เมตร
7. กลบดินในร่องปลูกให้ต่ำกว่าระดับผิวดินปกติ เพื่อให้น้ำขัง และซึมลงดินได้ ช่วยให้ดินชุ่มชื้นขึ้น
8. ควรปลูกซ่อมแซมให้ได้แนวรั้วหญ้าแฝกที่เป็นแนวยาวต่อเนื่อง
โครงการฝนหลวง
โครงการฝนหลวง
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้งฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรืออาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความเดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวันจะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญเติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม
ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ
1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศ
และทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน
ดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
--------------------------------------------------------------------------------
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้ สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน"
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆ สลาย
ขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี"
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)
เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง
1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย
1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น
3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์ เป็นต้น
4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ
5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่องมือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่ เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่
คำถามท้ายบทหน่วยที่1และหน่วยที่4
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ หมายถึง การนำขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
--------------------------------------------------
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1. เทคโนโลยีทางการศึกษา
2. เทคโนโลยีทางการทหาร
3. เทคโนโลยีทางการแพทย์
4. เทคโนโลยีทางการเกษตร
5. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
--------------------------------------------------
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ และทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ให้ชัดเจน
ตอบ ตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น เทคโนโลยีทางการศึกษาจะมุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญ ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะเห็นว่าการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น แต่ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์นั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา จะมุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการทางการศึกษา 4 ขั้น คือ
1. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัดและสังเกตได้
2. ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม เพื่อจัดหลักสูตรและโครงการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
--------------------------------------------------
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1. บุคคลธรรมดาสามัญ การศึกษาหมายถึง เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา การศึกษา หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อนการศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษาคือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว
--------------------------------------------------
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ มี 3 ระดับ คือ 1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับเครื่องช่วยสอนของครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ มีข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่นระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
--------------------------------------------------
6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แตกต่างกัน คือ เทคโนโลยีจะเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนนวัตกรรม จะเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความสัมพันธ์กันคือ ทั้ง 2 สิ่งมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจน
กว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที
--------------------------------------------------
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
--------------------------------------------------
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
--------------------------------------------------
9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.โทรทัศน์การสอน
2. บทเรียนสำเร็จรูป
3. ชุดการสอน
--------------------------------------------------
10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่
11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการศึกษาของไทยในอดีต ซึ่งการศึกษาของไทยในอดีต นั้นครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนเป็นผู้เรียน และผู้ฟังเพียงอย่างเดียว นักเรียนขาดกระบวนการคิด ขาดทักษะ ทำให้เมื่อผู้เรียนเติบโตขึ้น จะเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือ แสดงออก หรือขาดความเชื่อมันในตนเอง ในปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาตัวผู้เรียนให้ทันพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
--------------------------------------------------
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ 1. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ฝึกคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ทำเป็น เพื่อฝึกให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ กล้าคิด กล้าทำ ในสิ่งที่ดีงาม
2. ควรเน้นการเรียนการสอนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
3. สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับทั้งผู้สอน และผู้เรียน
--------------------------------------------------
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Cummunis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้สู่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค รูปทรง
7. Content หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูล ของผู้ส่ง
ตัวอย่างเช่น รายละเอียด ส่วนประกอบย่อย ๆ
8. Treatment หมายถึง วิธีการทำ หรือ รูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างเช่น แบบการส่งข่าวสาร
9. Code หมายถึง รหัส คือ คำพูด หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ตัวอย่าง เช่น ประโยคคำถาม “คุณไปไหนมา”
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
ตอบ กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ครู เนื้อหา หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง และนักเรียน ครูในฐานะเป็นผู้ส่งสาร และเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนจะต้องเป็นผู้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอน เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อความหมาย ต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ วางแผนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ตัวเนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ เป็นสิ่งที่ครูจะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมกับเพศ วัย ความสอดคล้องกับเทคนิคการสอน เนื้อหาควรทันสมัย สื่อหรือช่องทาง ควรมีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัส สื่อความหมายได้ดี ส่วนตัวนักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ มีทักษะในการสื่อความหมาย และมีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและเนื้อหาวิชา
--------------------------------------------------
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
ตอบ ความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน อาจเกิดจากครูผู้สอนไม่ได้บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนการเรียน ครูไม่คำนึงถึงขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน ครูไม่สนใจจะจัดบรรยากาศให้น่าเรียน ครูให้คำยาก นักเรียนไม่เข้าใจ ครูสอนวกวน สับสน นักเรียนเข้าใจยาก และครูไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอน สาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความล้มเหลวในการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
--------------------------------------------------
1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ หมายถึง การนำขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
--------------------------------------------------
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1. เทคโนโลยีทางการศึกษา
2. เทคโนโลยีทางการทหาร
3. เทคโนโลยีทางการแพทย์
4. เทคโนโลยีทางการเกษตร
5. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
--------------------------------------------------
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ และทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ให้ชัดเจน
ตอบ ตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น เทคโนโลยีทางการศึกษาจะมุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญ ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะเห็นว่าการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น แต่ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์นั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา จะมุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการทางการศึกษา 4 ขั้น คือ
1. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัดและสังเกตได้
2. ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม เพื่อจัดหลักสูตรและโครงการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
--------------------------------------------------
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1. บุคคลธรรมดาสามัญ การศึกษาหมายถึง เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา การศึกษา หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อนการศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษาคือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว
--------------------------------------------------
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ มี 3 ระดับ คือ 1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับเครื่องช่วยสอนของครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ มีข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่นระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
--------------------------------------------------
6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แตกต่างกัน คือ เทคโนโลยีจะเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนนวัตกรรม จะเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความสัมพันธ์กันคือ ทั้ง 2 สิ่งมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจน
กว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที
--------------------------------------------------
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
--------------------------------------------------
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
--------------------------------------------------
9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.โทรทัศน์การสอน
2. บทเรียนสำเร็จรูป
3. ชุดการสอน
--------------------------------------------------
10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่
11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการศึกษาของไทยในอดีต ซึ่งการศึกษาของไทยในอดีต นั้นครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนเป็นผู้เรียน และผู้ฟังเพียงอย่างเดียว นักเรียนขาดกระบวนการคิด ขาดทักษะ ทำให้เมื่อผู้เรียนเติบโตขึ้น จะเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือ แสดงออก หรือขาดความเชื่อมันในตนเอง ในปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาตัวผู้เรียนให้ทันพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
--------------------------------------------------
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ 1. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ฝึกคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ทำเป็น เพื่อฝึกให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ กล้าคิด กล้าทำ ในสิ่งที่ดีงาม
2. ควรเน้นการเรียนการสอนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
3. สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับทั้งผู้สอน และผู้เรียน
--------------------------------------------------
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Cummunis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้สู่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค รูปทรง
7. Content หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูล ของผู้ส่ง
ตัวอย่างเช่น รายละเอียด ส่วนประกอบย่อย ๆ
8. Treatment หมายถึง วิธีการทำ หรือ รูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างเช่น แบบการส่งข่าวสาร
9. Code หมายถึง รหัส คือ คำพูด หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ตัวอย่าง เช่น ประโยคคำถาม “คุณไปไหนมา”
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
ตอบ กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ครู เนื้อหา หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง และนักเรียน ครูในฐานะเป็นผู้ส่งสาร และเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนจะต้องเป็นผู้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอน เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อความหมาย ต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ วางแผนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ตัวเนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ เป็นสิ่งที่ครูจะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมกับเพศ วัย ความสอดคล้องกับเทคนิคการสอน เนื้อหาควรทันสมัย สื่อหรือช่องทาง ควรมีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัส สื่อความหมายได้ดี ส่วนตัวนักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ มีทักษะในการสื่อความหมาย และมีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและเนื้อหาวิชา
--------------------------------------------------
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
ตอบ ความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน อาจเกิดจากครูผู้สอนไม่ได้บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนการเรียน ครูไม่คำนึงถึงขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน ครูไม่สนใจจะจัดบรรยากาศให้น่าเรียน ครูให้คำยาก นักเรียนไม่เข้าใจ ครูสอนวกวน สับสน นักเรียนเข้าใจยาก และครูไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอน สาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความล้มเหลวในการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
--------------------------------------------------
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)