วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2551
วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
เจลว่านหางจระเข้
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : เจลว่านหางจระเข้
สารสำคัญ : วุ้นว่านหางจระเข้ 87.4 %
รูปแบบ : เจลทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาบริเวณที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก วันละ 2-3 ครั้ง
หรือตามแพทย์สั่ง
ขนาดบรรจุ : 30 กรัม/หลอด
เจลพริก
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : เจลพริก
สารสำคัญ : สารสกัดพริกที่มี สารแคปไซซิน 0.025 %
รูปแบบ : เจลทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาบางๆ บริเวณที่ปวดวันละ 2-3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 30 กรัม/หลอด
ไพลจีซาล
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : ครีมไพลจีซาล
สารสำคัญ : น้ำมันไพล 140 มก./กรัม
รูปแบบ : ครีมทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาและนวดเบา ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 30 กรัม/หลอด
เซนเทลล่าครีม
ยาสมุนไพรใช้ภายนอก 0.00 ฿
ชื่อผลิตภัณฑ์ : เซนเทลล่าครีม
สารสำคัญ : สารสกัดใบบัวบก 7 %
รูปแบบ : ครีมทาภายนอก
วิธีใช้ : ทาบริเวณแผลเปิดที่มีการทำความสะอาด
และฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว วันละ 2-3 ครั้ง
ขนาดบรรจุ : 20 กรัม/หลอด
การนวดฝ่าเท้า
นวดฝ่าเท้าอยู่หลายแห่ง
ถ้าคุณสนใจแต่ยังไม่กล้าลอง ก็ลองนวดดูเอง ด้วยวิธีง่ายๆ ต่อไปนี้
• เวลานวดให้ล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้น และเพื่อช่วยให้การนวดไม่ ติดขัด ในการทาโลชั่นให้กดน้ำหนักของนิ้วลงไปให้ทั่วบริเวณเท้าด้วย
• ใช้มือหนึ่งจับเท้าข้างที่ต้องการจะนวดไว้ให้แน่น
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งกดลงที่เนื้อของหัวแม่โป้ง
• ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่หัวแม้เท้า ขึ้น - ลง ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของนิ้วเท้า
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่ตาตุ่ม แล้วกดนวดเป็นวงกลม
• ใช้หัวแม่มือนวดตั้งแต่ตาตุ่มโค้งลงมาจนถึงส้นเท้าทั้งสองด้าน
• นวดบริเวณส้นเท้าค่อยๆ เลื่อนขึ้นมาถึงข้อเท้าไปในทิศทางเดียวคือ นวดขึ้นนวด
ขึ้น
• ปิดท้ายด้วยการนวดบริเวณข้อเท้าอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าคุณสนใจแต่ยังไม่กล้าลอง ก็ลองนวดดูเอง ด้วยวิธีง่ายๆ ต่อไปนี้
• เวลานวดให้ล้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้น และเพื่อช่วยให้การนวดไม่ ติดขัด ในการทาโลชั่นให้กดน้ำหนักของนิ้วลงไปให้ทั่วบริเวณเท้าด้วย
• ใช้มือหนึ่งจับเท้าข้างที่ต้องการจะนวดไว้ให้แน่น
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งกดลงที่เนื้อของหัวแม่โป้ง
• ใช้นิ้วหัวแม่มือกดนวดที่หัวแม้เท้า ขึ้น - ลง ทั้งด้านหน้าและด้านข้างของนิ้วเท้า
• ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่ตาตุ่ม แล้วกดนวดเป็นวงกลม
• ใช้หัวแม่มือนวดตั้งแต่ตาตุ่มโค้งลงมาจนถึงส้นเท้าทั้งสองด้าน
• นวดบริเวณส้นเท้าค่อยๆ เลื่อนขึ้นมาถึงข้อเท้าไปในทิศทางเดียวคือ นวดขึ้นนวด
ขึ้น
• ปิดท้ายด้วยการนวดบริเวณข้อเท้าอีกครั้งหนึ่ง
การทำตะกร้าหวาย
ตะกร้าหวาย ถังใส่ผ้า ถังใส่ขยะ ทำจากหวาย
- ตะกร้าหวาย ถังใส่ผ้า ถังใส่ขยะ ทำจากหวาย
- กล่องกระดาษทิชชู จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด จักสานด้วยผักตบชวา
- ตะกร้า หูหิ้ว จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด/ตะกร้า จักสานด้วยกก
ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ของตกแต่งบ้าน ตกแต่ง รีสอร์ท สำนักงาน ที่พัก โรงแรม ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ปอ กก ผักตบชวา หวาย และรับทำตามแบบที่ท่านต้องการ มีสินค้าให้เลือกชมที่เว็บไซต์
- ตะกร้าหวาย ถังใส่ผ้า ถังใส่ขยะ ทำจากหวาย
- กล่องกระดาษทิชชู จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด จักสานด้วยผักตบชวา
- ตะกร้า หูหิ้ว จักสานด้วยผักตบชวา
- กระจาด/ตะกร้า จักสานด้วยกก
ผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ของตกแต่งบ้าน ตกแต่ง รีสอร์ท สำนักงาน ที่พัก โรงแรม ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ปอ กก ผักตบชวา หวาย และรับทำตามแบบที่ท่านต้องการ มีสินค้าให้เลือกชมที่เว็บไซต์
วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550
แก้มลิง
โครงการ '' แก้มลิง '
ทฤษฎีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตามแนวทางการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมล้น (Flood Management)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานแนวพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ไว้ 5 แนวทาง คือ ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำ โดยปรับปรุงแนวถนนเดิมประการที่สอง จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริ เพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำเมื่อมีน้ำหลาก ประการที่สาม ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ ประการที่สี่ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ห้า ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง
วิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภูมิภาคต่าง ๆ คือ
1. การก่อสร้างคันกันน้ำ โดยการก่อสร้างคันดินกั้นน้ำขนานไปตามลำน้ำเพื่อป้องกันมิให้น้ำล้นตลิ่งไปท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ด้านใน
2. การก่อสร้างทางผันน้ำ เพื่อผันน้ำทั้งหมดหรือบางส่วนที่ล้นตลิ่งท่วมล้นเข้ามาให้ออกไป
3. การปรับปรุงและตกแต่งสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมทะลักสามารถไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก หรือช่วยให้กระแสน้ำไหลเร็วยิ่งขึ้น
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ "แก้มลิง"
ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง
1. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชายทะเล
2. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลอง ดังกล่าว โดยใช้หลักการทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
3. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อจะได้ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
4. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลองให้ทำการปิดประตูระบายน้ำ โดยยึดหลักน้ำไหลลงทางเดียว
(One Way Flow) หลักการ 3 ประเด็น ที่โครงการแก้มลิงจะสามารถมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริคือ
1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพัก และวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
2. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
3. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง
โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใช้คลองชายทะเลที่ตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำ โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายออกทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเพื่อให้การระบายน้ำท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ซึ่งใช้หลักการในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำ โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ 3 โครงการ ด้วยกัน คือ
1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
2. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
3. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตรหมายอันเป็นสิ่งที่ชาวไทยทั้งหลายได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยที่นำความเดือดร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัย ซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า "...ได้ดำเนินการในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไป เพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)