วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำถามท้ายบทหน่วยที่1และหน่วยที่4

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1
1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ หมายถึง การนำขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
--------------------------------------------------
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1. เทคโนโลยีทางการศึกษา
2. เทคโนโลยีทางการทหาร
3. เทคโนโลยีทางการแพทย์
4. เทคโนโลยีทางการเกษตร
5. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
--------------------------------------------------
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ และทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ให้ชัดเจน
ตอบ ตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น เทคโนโลยีทางการศึกษาจะมุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญ ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะเห็นว่าการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น แต่ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์นั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา จะมุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการทางการศึกษา 4 ขั้น คือ
1. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัดและสังเกตได้
2. ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม เพื่อจัดหลักสูตรและโครงการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
--------------------------------------------------



4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1. บุคคลธรรมดาสามัญ การศึกษาหมายถึง เป็นการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา การศึกษา หมายถึง ศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวมไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของส่วนรวมก่อนการศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษาคือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว
--------------------------------------------------
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ มี 3 ระดับ คือ 1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับเครื่องช่วยสอนของครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง การใช้เทคโนโลยีระดับนี้ จะต้องควบคู่ไปกับการสอนของครูตลอดเวลาจึงจะได้ผลดี
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ มีข้อเสีย คือ ไม่มีความผูกพันระหว่างครูกับผู้เรียน
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่นระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
--------------------------------------------------
6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แตกต่างกัน คือ เทคโนโลยีจะเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนนวัตกรรม จะเป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีความสัมพันธ์กันคือ ทั้ง 2 สิ่งมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจน

กว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรมนั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยีขึ้นมาทันที
--------------------------------------------------
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ ขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรม มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
--------------------------------------------------
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย
--------------------------------------------------
9.จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.โทรทัศน์การสอน
2. บทเรียนสำเร็จรูป
3. ชุดการสอน
--------------------------------------------------

10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่

11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการศึกษาของไทยในอดีต ซึ่งการศึกษาของไทยในอดีต นั้นครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนเป็นผู้เรียน และผู้ฟังเพียงอย่างเดียว นักเรียนขาดกระบวนการคิด ขาดทักษะ ทำให้เมื่อผู้เรียนเติบโตขึ้น จะเป็นคนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือ แสดงออก หรือขาดความเชื่อมันในตนเอง ในปัจจุบันจึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาตัวผู้เรียนให้ทันพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
--------------------------------------------------
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ 1. จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ฝึกคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ทำเป็น เพื่อฝึกให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ กล้าคิด กล้าทำ ในสิ่งที่ดีงาม
2. ควรเน้นการเรียนการสอนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
3. สร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับทั้งผู้สอน และผู้เรียน
--------------------------------------------------

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1. คำว่า Cummunis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้สู่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค รูปทรง

7. Content หมายถึง เนื้อหาหรือข้อมูล ของผู้ส่ง
ตัวอย่างเช่น รายละเอียด ส่วนประกอบย่อย ๆ
8. Treatment หมายถึง วิธีการทำ หรือ รูปแบบวิธีการที่แตกต่างกันไป
ตัวอย่างเช่น แบบการส่งข่าวสาร
9. Code หมายถึง รหัส คือ คำพูด หรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ตัวอย่าง เช่น ประโยคคำถาม “คุณไปไหนมา”
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การถอดรหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
ตอบ กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบคือ ครู เนื้อหา หลักสูตร สื่อหรือช่องทาง และนักเรียน ครูในฐานะเป็นผู้ส่งสาร และเป็นผู้กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนจะต้องเป็นผู้มีความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอน เป็นผู้มีความสามารถในการสื่อความหมาย ต้องจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ วางแผนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน ตัวเนื้อหา หลักสูตร ตลอดจนทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ เป็นสิ่งที่ครูจะถ่ายทอดไปยังผู้เรียน จะต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมกับเพศ วัย ความสอดคล้องกับเทคนิคการสอน เนื้อหาควรทันสมัย สื่อหรือช่องทาง ควรมีศักยภาพเหมาะสมกับธรรมชาติของเนื้อหา สอดคล้องกับธรรมชาติของประสาทสัมผัส สื่อความหมายได้ดี ส่วนตัวนักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายและจิตใจ มีทักษะในการสื่อความหมาย และมีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและเนื้อหาวิชา
--------------------------------------------------
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
ตอบ ความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน อาจเกิดจากครูผู้สอนไม่ได้บอกวัตถุประสงค์ในการเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อนการเรียน ครูไม่คำนึงถึงขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน ครูไม่สนใจจะจัดบรรยากาศให้น่าเรียน ครูให้คำยาก นักเรียนไม่เข้าใจ ครูสอนวกวน สับสน นักเรียนเข้าใจยาก และครูไม่สนใจที่จะใช้สื่อการสอน สาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความล้มเหลวในการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
--------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น: